วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2558

สร้างสะพานลอยตรงไหนดีนะ


* ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

สะพานลอย คือสิ่งสำคัญสำหรับคนเดินถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานคร เนื่องจากถนนบางสายมีความกว้างมาก การข้ามถนนทำได้ยาก เราจึงปฏิเสธไม่ได้ที่ต้องขึ้นสะพานลอย (ถึงแม้จะมีบางคนใช้เป็นที่บังแดดก็ตาม) แต่ลองคิดเล่นๆ ดูสิครับว่า ถนนยาวๆ ทั้งหลายเนี่ย สร้างสะพานลอยตรงจุดไหนจึงจะคุ้มค่าที่สุดกันนะ ผมสมมุติสถานที่ดังต่อไปนี้ครับ


ตามรูป สมมุติมีห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง และมีสถานีรถไฟฟ้าอยู่ฝั่งตรงข้าม หากเราต้องการสนับสนุนให้คนหันมาใช้บริการขนส่งมวลชน เราก็ต้องทำให้มันสะดวกต่อการใช้งานครับ จากกรณีที่ผมยกตัวอย่างขึ้นมาก ถ้าเราเดินทางมาด้วยรถไฟฟ้า จะต้องเดินข้ามฝั่งเพื่อไปยังห้างสรรพสินค้า เดินอย่างไรจึงใกล้ที่สุดครับ ตอบตามหลักวิชาการแล้วก็คงเป็นแบบนี้ครับ



ใช่แล้วครับ เดินตามเส้นทางของการกระจัดนั่นเอง คงไม่มีปัญหาหากจะสร้างเส้นทางเดินจากสถานีรถไฟฟ้ามายังถนน และจากถนนไปยังทางเข้าห้างสรรพสินค้าตามรูปข้างต้น แต่หากจะสร้างสะพานลอยเฉียงๆ อย่างนั้น คงต้องเสียทั้งงบประมาณที่มาก และอาจติดปัญหาในขั้นตอนการสร้างด้วย คงไม่มีใครเคยเจอสะพานลอยแบบนั้นใช่ไหมครับ ที่เราเจอกันก็คือสร้างตามแนวขวางของถนนอย่างนี้ครับ
ตามรูป สมมุติให้ส่วนของเส้นตรงสีเขียวเป็นสะพานลอย เราสร้างกันตามแนวดังกล่าวครับ แต่จะสร้างตำแหน่งใดของถนนดีล่ะครับ จะให้ใกล้กับสถานีรถไฟฟ้า หรือใกล้ห้างสรรพสินค้า หรืออยู่กึ่งกลางพอดี ทุกอย่างย่อมมีเหตุผลครับ เราคงไม่ใช้วิธีการสุ่มตำแหน่งในการสร้างสะพานลอยแน่นอน แต่คณิตศาสตร์จะบอกเราได้ครับ ก่อนอื่น เราต้องจำลองปัญหาของเราให้เป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เอาแบบง่ายๆ ก็ได้ครับ ดังนี้





ผมกำหนดสถานีรถไฟฟ้าเป็นจุด A และห้างสรรพสินค้าเป็นจุด B แล้วผมก็เลื่อนเจ้าสะพานลอยสีเขียวของเราไปที่ห้างสรรพสินค้าหรือที่สถานีรถไฟฟ้าก่อนก็ได้ครับ



ในที่นี้ผมเลื่อนมันไปยังสถานีรถไฟฟ้า หรือจุด A ในทางคณิตศาสตร์เราเรียกกระบวนการนี้ว่า "การเลื่อนขนาน" ที่เรียนกันตอน ม.2 นั่นเองครับ จากนั้น ผมหาเส้นทางการกระจัดจากปลายสะพานลอย ไปยังห้างสรรพสินค้า หรือจุด B ได้ดังนี้
ตามรูป ส่วนของเส้นตรงสีส้มก็คือทางเดินจากสถานีรถไฟฟ้ามายังถนน และจากถนนไปยังห้างสรรพสินค้า จะเห็นว่า เราสามารถสร้างทางเดินเชื่อมระหว่างห้างสรรพสินค้ากับถนนได้ทันที ดังนี้





ทางเดินจากจุด B มายังจุด C ครับ แล้วยังไงต่อ จากนั้นผมย้ายสะพานลอยไปยังที่ที่มันควรจะอยู่ ก็คือตามขวางของถนน ผมใช้วิธีการเลื่อนขนานอีกครั้ง โดยเอาสะพานลอยของเราไปต่อที่จุด C ดังนี้

แล้วเราจะได้ตำแหน่งของสะพานแล้วที่ควรจะอยู่แล้วครับ ส่วนเจ้าส่วนของเส้นตรงที่เป็นเส้นประนั่นก็คือทางเดินที่เชื่อมจากสะพานลอยกับสถานีรถไฟฟ้า ผมใช้วิธีการเลื่อนขนานอีกครั้ง ก็จะได้


จัดการลบส่วนเกินออกซะ ก็จะได้แผนผังการสร้างทางเดินและสะพานลอยที่สั้นที่สุดแล้วครับ
นี่ก็เป็นตัอวย่างการประยุกต์คณิตศาสตร์แบบง่ายๆ อย่างหนึ่ง แน่นอนว่าในการสร้างสะพานลอยจริงๆ ต้องมีรายละเอียดปลีกย่อยอีกมากกว่านี้ แต่ผมรับประกันว่า ต้องมีไอเดียเดียวกันนี้ในการสร้างจริงๆ อย่างแน่นอน สุดท้ายก็ขอฝากสะพานลอยเท่ๆ ของไทยเราไว้อวดต่างชาติครับ

* ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

PAT1 Hack เทคนิคการทำคะแนน PAT1 รูปแบบใหม่ จาก Open Durian

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการสอบ GAT/PAT เป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของนักเรียน ม.ปลาย หลายๆ คน สำหรับวิชาคณิตศาสตร์นั้น PAT1 ถือเป็นข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ที่เรียกได้ว่าปราบเซียนกันเลย ด้วยความยากของเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์เองแล้ว การออกข้อสอบ PAT1 ก็ถือว่ามีความซับซ้อนมากเลยทีเดียว

การเตรียมตัวสอบแบบดั้งเดิมที่มักจะทำกันคือพยายามอ่านให้ครบ แล้วฝึกทำโจทย์เยอะๆ แต่เคยคิดไหมครับว่า ถ้าเรามุ่งพัฒนาในหัวข้อที่เราถนัดเพื่อเก็บคะแนนให้ได้ชัวร์ๆ แล้วจะดีกว่าไหมครับ ลองดูตัวอย่างเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นจากคลิปนี้ครับ


Open Durian นั้นเป็นเว็บไซต์ที่มุ่งพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์แบบออนไลน์รูปแบบใหม่ที่ได้ทำการพัฒนามากว่า 3 ปี ด้วยทีมงานที่มีคุณภาพ และติวเตอร์มากประสบการณ์ ทำให้ PAT1 Hack เป็นโปรแกรมที่น่าสนใจสำหรับนักเรียนที่ต้องสอบ PAT1 เป็นอย่างดี

สนใจในรายละเอียดเข้าชมเว็บไซต์ของทาง Open Durian ได้ที่ https://www.opendurian.com/
หรือสอบถามรายละเอียดที่ https://www.facebook.com/OpenDurian

เครื่องหมายอินทิกรัล... ทำไมต้องถั่วงอก?

* ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

การอินทิเกรตหรือการหาปริพันธ์ คงเป็นกระบวนการที่ทางคณิตศาสตร์ที่คุ้นเคยกันดีโดยเฉพาะกับนักเรียนสายวิทย์คณิตที่ได้เรียนวิชาแคลคูลัสมาแล้ว สัญลักษณ์ที่ใช้ในการอินทิเกรตก็เป็นที่คุ้นตากันดีในสายงานวิทยาศาสตร์ บางทีเราก็เรียกมันว่า "ถั่วงอก" บ้างล่ะ ก็มันคล้ายจริงๆ นี่นะ เอ แล้วสงสัยกันบ้างไหมว่าทำไมต้องเป็นตัวแบบนี้



สัญลักษณ์ต่างๆ ในทางคณิตศาสตร์มักมีที่มาจากตัวอักษรกรีก เช่น สัญลักษณ์ "ผลรวม" หรือที่เราชอบเรียกกันว่า "ซิกมา" เพราะใช้สัญลักษณ์เป็นตัวอักษรกรีกก็คือตัวซิกมานั่นเอง แล้วเจ้าเครื่องหมายอินทิกรัลนี่มันตัวอะไรกัน






ก่อนอื่น เรามาทำความเข้าใจความแตกต่างของคำว่า "อินทิเกรต" กับคำว่า "อินทิกรัล" กันก่อน การอินทิเกรตคือชื่อของกระบวนการครับ ตามภาพข้างบนนั่นคือการอินทิเกรต ส่วนคำว่าอินทิกรัล หมายถึงสัญลักษณ์โค้งๆ ที่เราเรียกว่าถั่วงอกนั่นแหละครับ ตัวเดี่ยวๆ ซึ่งหากไล่เรียงดูตัวอักษรกรีกทั้งหมดก็คงไม่เจอมันหรอกครับ เพราะไม่ใช่ตัวอักษรกรีกแต่อย่างใด

* ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย


แต่ใช่ว่าเจ้าตัวนี้จะเป็นสัญลักษณ์ที่เขียนขึ้นมาลอยๆ ไม่มีที่มาที่ไปนะ ผู้เริ่มใช้สัญลักษณ์อินทิกรัลคือ Gottfried Wilhelm Leibniz ผู้คิดค้นวิชาแคลคูลัส เนื่องจากการอินทิเกรตหมายถึง "การรวม" ของอะไรสักอย่าง เช่น พื้นที่ หรือปริมาตร เป็นต้น ซึ่งภาษาอังกฤษคือคำว่า summation และเป็นเหตุผลให้ไลบ์นิซเลือกใช้ตัว "S" เป็นเครื่องหมายอินทิกรัล ใช่แล้วครับ มันคือตัว "S" จริงๆ ไม่ใช่ S ที่เขียนให้ดูอาร์ตนะครับ แต่เราเรียกมันว่าตัว S ยาว หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า "medial S"




* ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย

ตัว S ยาว เป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ถูกใช้เมื่อในอดีต คือจะเขียนตัว S เป็นแบบนี้เมื่อมันอยู่หน้าสุดของคำหรืออยู่ระหว่างกลางของคำ ดังเช่นในรูปทางขวามือเป็นคำว่า "Congress" ที่เขียนอยู่ในบัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมืองของสหรัฐอเมริกา (United States Bill of Rights) ฉบับปี ค.ศ.1789 ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ไลบ์นิซเริ่มใช้สัญลักษณ์อินทิกรัลเป็นตัว S ยาว พอดี



* ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
หลายๆ คนคงจะคุ้นเคยกับรูบนไวโอลิน มันช่างมีหน้าตาละม้ายคล้ายกับเจ้าเครื่องหมายอินทิกรัลเชียว เอ แล้วไวโอลินมันเกี่ยวข้องกับแคลคูลัสอย่างนั้นเหรอ... เปล่าเลยครับ เพราะรูบนไวโอลินนี่ไม่ใช่ตัว S แต่เป็นตัว f ครับ และก็ไม่ใช่ตัว "f ยาว" แต่อย่างใด ในทางดนตรีเขาเรียกกันว่า "f-hole" ครับ แฮริสัน (Harrison Stradivarius) ได้ออกแบบไว้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1693 ก่อนที่ไลบ์นิซจะเริ่มใช้ตัว S ยาว แทนเครื่องหมายอินทิกรัลซะอีก ผมคงไม่ลงรายละเอียดเรื่องของไวโอลินนะครับ ใครสนใจไปอ่านต่อได้ที่ http://www.pantown.com/board.php?id=13220&area=4&name=board2&topic=296&action=view

* ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต




สมัยผมเรียน ป.ตรี เคยอ่านแคลคูลัสเล่มหนึ่งที่ใช้ภาพปกเป็นรูปไวโอลิน พร้อมกับรู f-hole ทำเอาผมเข้าใจผิดมานานหลายปีเลยครับ เพิ่งเข้าใจตอนนี้นี่เองว่า... มันไม่เกี่ยวกันเลย